วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้ สวพ. ครั้งที่ 2


กิจกรรมการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ครั้งที่ 2
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556
เรื่อง การให้บริการที่มีประสิทธิภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนา



ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้
1.     น.ส.เตือนใจ  สลับศรี              2.  น.ส.วิลาวัลย์  ฤทธิ์เรืองโรจน์

3.     น.ส.นิราวัลย์  ศรีทอง              4.  น.ส.วรรณษา  บาลโสง

5.     น.ส.สุวรรณา  ปัดทาบาล         6. น.ส.ประกาย  ขวัญหลาย
7.     น.ส.วีรยา  แจ่มสวัสดิ์              8. น.ส.ปุญณชา  สุริยะสาร
9.     นางนภาพร ปฐมนนท์

เรื่อง ศิลปะในการติดต่อสื่อสาร  โดย นางสาวปุญณชา  สุริยะสาร  
ได้กล่าวถึงศิลปะในการติดต่อสื่อสารว่า การติดต่อสื่อสารที่ดีจะต้องมีความร่วมมือ จะต้องมีความเข้าใจหรือมีการตกลงร่วมกัน มีการระดมความคิด วิธีการ เทคนิค การจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ต้องมีจังหวะเวลา ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีความรับผิดชอบ ทำให้งานนั้นเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันให้ตรงเวลา ต้องความสอดคล้องกัน จะต้องพิจารณาความพอเหมาะพอดี ไม่ทำงานซ้อนกัน เพื่อให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ ต้องมีระบบการสื่อสารที่ตรงกันอย่างรวดเร็วและราบรื่น และผู้ประสานจะต้องสามารถทำให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมทำงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันตามวัตถุประสงค์ของงานที่กำหนดไว้

เรื่อง การบริหารอารมณ์ โดยนางสาวสุวรรณา ปัดทาบาล
ได้กล่าวถึงการบริหารอารมณ์ว่า ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยไปตามใจตนเองคนที่ ควบคุมตนเองได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ การควบคุมอารมณ์ ถ้าอารมณ์ดีผลกลับมาก็จะดีไปด้วย การฟังเพลงก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผ่อนคลาย มีสติเป็นการควบคุมอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง

เรื่องการปรับปรุงบุคลิกภาพจากภายใน โดยนางสาวนิราวัลย์  ศรีทอง
 ได้กล่าวถึงทัศนคติคือจุดเริ่มต้น เพียงแต่มองทุกสิ่งในด้านที่ดี ก็จะทำให้มีความสุข สร้างความเชื่อมั่นในตนเองคือ มั่นใจในตนเอง ฝึกตนเองให้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของจนเองไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด รู้จักบังคับใจตนพยายามปรับชีวิตให้เข้ากับสังคม ฝึกความอดทนและอดกลั้นให้กับตนเอง ควบคุมตนให้คิดถึงผู้อื่นมากกว่าคิดถึงตนเอง การคอยสำรวจจุดอ่อนภายในตัวเองอยู่เสมอ รู้จักให้กำลังใจ

เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพรูปลักษณ์เรือนกาย  โดยนางนภาพร  ปฐมนนท์
บุคลิกภาพที่ดีเป็นเสน่ห์ที่ติดตัว การมีรูปร่างหน้าตาเป็นอาวุธ หล่อเหลา สวยงาม ถือว่าเป็นหน้าตาที่ดี ซึ่งจะสามารถดึงดูดและน่าสนใจมากกว่าคนอื่นที่หน้าตาธรรมดาๆ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการให้บริการเป็นอย่างมาก จึงขอสรุปแนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพรูปลักษณ์เรือนกาย ดังนี้
1.การรักษาสุขภาพอนามัย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
-ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดลงผิดปกติ
-พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ7-8 ชม.
-รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ
2.การดูแลร่างกาย
-รักษาความสะอาดในช่องปาก
-ดูแลรักษาทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
-ดูแลเล็บมือเล็บเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ
-ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี

3.การแต่งกาย
-สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบร้อย
-แต่งหน้าให้เรียบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ
-ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม
-ผม หมั่นสระให้สะอาด แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า

4.อารมณ์
-รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง คนที่ควบคุมอารมณ์ตนได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ

เรื่อง การให้บริการที่ดี : กรณีผู้รับบริการที่หลากหลาย  โดยนางสาวประกาย  ขวัญหลาย
        สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานสนับสนุนมีหน้าที่สนับสนุนงาน วิชาการ ศึกษาวิจัย ค้นคว้า และฝึกอบรม เป็นหน่วยประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ คณะ และสถาบันที่จัดการเรียนการสอน รวมทั้งการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยทั้งบุคคลภายในและภายนอก ภารกิจดังกล่าวจึงมีเรื่องของการให้บริการเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะมีผู้รับบริการที่หลากหลาย การให้บริการที่ดี จะสร้างความประทับใจ และยังช่วยผูกใจผู้รับบริการไว้ได้ในระยะยาว เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่หลายๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้เพื่อสนับสนุนภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี 
            1. ผู้รับบริการเจ้าอารมณ์ พูดจาเสียงดัง พูดเร็ว ข่มขู่ ชอบกล่าวโทษ  ช่างติ วางอำนาจ ดูถูก ไม่รับฟัง ชอบขัดจังหวะการสนทนา
          การให้บริการ: ต้องสร้างสัมพันธ์ ใช้คำถามแบบเปิดเพื่อรับทราบความรู้สึกและคล้อยตาม เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการระบาย รับฟังอย่างใจเย็น และพยายามรีบดำเนินการถ้ามีสิ่งใดที่เราสามารถช่วยได้ สอบถามความพึงพอใจ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกดีและพอใจมากขึ้น  

        2. ผู้รับบริการช่างเจรจา ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เป็นมิตร น้ำเสียงปรกติ ช่างพูด หัวเราะ กล่าวขอบคุณ เปิดเผย ยืดหยุ่น ไม่รีบร้อน มองโลกในแง่ดี และรับฟัง
          การให้บริการ:  ต้องมั่นสังเกตและพูดถึงเรื่องของผู้รับบริการโดยเฉพาะ เช่น ดีใจที่ได้คุยกับคุณอีกแสดงความชื่นชม สร้างสัมพันธ์โดยการสอบถามถึงความต้องการอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ ทำตัวให้สุภาพ จริงใจ เอาใจใส่ ขอเสนอแนะจากผู้รับบริการ 

         3. ผู้รับบริการ ยืนกราน เรียกร้อง น้ำเสียงมั่นใจ ใช้การออกคำสั่ง ว่องไว เป็นฝ่ายเริ่มสนทนา ต้องการให้อธิบายอย่างละเอียด ใช้ประโยคสั้นๆ กระชับ
          การให้บริการ:  เริ่มต้นต้องให้ความสนใจผู้รับบริการเต็มที่ ลงมือปฏิบัติทันที เช่น ตรวจสอบเรื่องที่แจ้งไว้แล้ว สร้างความสัมพันธ์โดยการเน้นว่าเราสามารถทำอะไรให้ผู้รับบริการได้บ้าง สังเกตด้วยว่าผู้รับบริการเห็นดีด้วยหรือไม่ เสนอทางเลือกให้ผู้รับบริการเป็นฝ่ายเลือก  สอบถามความพึงพอใจด้วยการทวนว่าเราได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว 

         4. ผู้รับบริการ พูดพึมพำ ลงท้ายด้วยคำถาม คิดนาน ตอบช้า กระวนกระวาย ไม่แน่ใจ งงงวย ไม่แจ้งว่าต้องการอะไร สอบถามคนข้างๆ พูดปกป้องตนเอง 
           การให้บริการ:  เริ่มต้นควรสร้างความมั่นใจ ว่าเราต้องการจะช่วย ถ้ายังไม่เข้าใจ พยายามใจเย็น สร้างสัมพันธ์ด้วยคำถามปิด เพื่อความกระจ่างและเข้าใจ เพื่อให้ผู้รับบริการตัดสินใจง่าย สื่อสารว่าเราพยายามช่วยให้ลดความกังวล ต้องยืนยันว่าวิธีการที่เราดำเนินการให้จะได้ผล



บทสรุปส่งท้ายกิจกรรม
          1.  การให้บริการโดยการสร้างสัมพันธ์เป็นมิตร อัธยาศัยดี ให้ข้อมูลที่กระจ่าง ชัดเจน รวดเร็ว และประทับใจต่อผู้รับบริการ
          2.  การให้บริการด้วยความเข้าใจ ใส่ใจผู้รับบริการที่หลากหลาย  

การขยายผลของแนวปฏิบัติที่ดี
     1.  จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และหาแนวทางพัฒนาปรับปรุงการให้บริการที่ดีต่อผู้รับบริการภายในหน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา เดือนละครั้ง
     2.  สอบถามความพึงพอใจจากผู้รับบริการ สรุปและพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป





"จงปฎิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน"

ไบเบิ้ล (มัทธิวบทที่7 ข้อ12)



ภาพกิจกรรมการจัดการความรู้











การจัดการความรู้ สวพ. ครั้งที่ 1


กิจกรรมการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ครั้งที่ 1
ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556
เรื่อง การรวมกลุ่มบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนาที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการในแต่ละด้านและการกำหนดประเด็นความรู้ที่ได้จากบุคลากร

 ===========================================

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้
1.   น.ส.เตือนใจ  สลับศรี                   2.   น.ส.วิลาวัลย์  ฤทธิ์เรืองโรจน์
3.   น.ส.นิราวัลย์  ศรีทอง                   4.   น.ส.วรรณษา  บาลโสง
5.   น.ส.สุวรรณา  ปัดทาบาล              6.   น.ส.ประกาย  ขวัญหลาย

7.   น.ส.วีรยา  แจ่มสวัสดิ์                  8.   น.ส.ปุญณชา  สุริยะสาร
     9. นางนภาพร ปฐมนนท์




          สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดทำแผนจัดการความรู้ (km Action Plan) และได้แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้โดยได้กำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาเรื่องการให้บริการที่มีประสิทธิภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนา ในวันจันทร์ที่ 18 พ.ย. 2556 คณะกรรมการการจัดการความรู้ ได้รวมกลุ่มระดมสมองเพื่อกำหนดประเด็นเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยคณะกรรมการได้ร่วมเสนอหัวข้อความรู้ ตามความสามารถในการให้บริการแต่ละด้านโดยสรุปได้ดังนี้

หัวข้อความรู้ที่ได้จากการสำรวจจากคณะกรรมการการจัดการความรู้ 
-บุคลิกภาพและการติดต่อสื่อสาร
-การให้บริการด้านการจัดทำสัญญาทุน
     -การให้บริการด้านประชุมวิชาการ
     - การให้บริการด้านวารสารวิจัย
-การให้บริการด้านการเสนอขอโครงการวิจัยงบประมาณประจำปีและการให้บริการด้านการเสนอโครงการวิจัยเงินรายได้ กระบวนการทำงาน (การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน/แนวทางการปฏิบัติที่ดี)เพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ




ภาพกิจกรรมการจัดการความรู้